การทำ SEO ปี 2021 ให้เว็บไซต์ติดอันดับ google

การทำ SEO ปี 2021 ให้เว็บไซต์ติดอันดับ google

ในการ ทำ seo ปี 2022 ให้เว็บไซต์ติดอันดับ google

เริ่มจาก SEO และ SEM คืออะไร??

การ ทำ seo

SEO อ่านว่า เอสอีโอ คือ การปรับแต่งเว็บไซต์และเนื้อหาให้ติดอันดับการค้นหาในตำแหน่งที่ดีที่สุดใน Search Engine ต่างๆ เช่น Google, Yahoo, Bing โดย SEO ย่อมากจาก Search Engine Optimization

เอสอีโอนั้นเป็นช่องทางหนึ่งในการทำการตลาด ที่จะทำให้เว็บไซต์แบรนด์ สินค้า บริการ ธุรกิจของคุณขึ้นหน้าแรกของ Google เมื่อมีการค้นหาด้วยคำ Keyword ที่กำหนดเอาไว้โดยไม่ได้ซื้อโฆษณา (Google Ads) โดยขั้นตอนการทำนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการใช้ Content แบบ Onsite, Outreach, Blog รวมถึงการใส่ Keyword และการทำ Backlink ที่ถือเป็นหัวใจหลักในการทำให้เว็บไซต์ของคุณไต่อันดับจากหน้าท้ายๆ ขึ้นมาจนถึงหน้าแรกได้แบบ Organic เป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ที่ต้องอาศัยทั้งระยะเวลาและการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในระยะยาว

และด้วยเหตุที่  SEO นั้นไม่ต้องเสียเงินให้ Google แม้แต่บาทเดียว สิ่งที่ต้องทำจึงเป็นการพัฒนาและจัดระเบีบยเว็บไซต์ไปพร้อมๆ กับการปรับปรุง Content ไม่ว่าจะเป็นการแทรกคีย์เวิร์ดต่างๆ หรือสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ สำหรับผู้อ่านในระยะยาว เพื่อสร้างเครือข่ายสู่การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ของตนจน Google เห็นว่าเว็บนั้นๆ มีศักยภาพในการดึงดูดผู้เข้าชม และตอบโจทย์ผู้ใช้ จึงจะค่อยๆ เลื่อนลำดับหน้าเว็บ ให้ขึ้นมาอยู่บนหน้าแรก ยิ่งเป็นตำแหน่งแรก (บนสุด) ด้วยแล้ว ถือเป็นตำแหน่งที่เป็นเป้าหมายของการทำ SEO ในทุกๆ ธุรกิจที่มีเว็บไซต์

การทำ SEM

SEM ย่อมาจาก Search Engine Marketing เป็นการซื้อโฆษณาผ่านการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ Keyword ติดอันดับแรกๆของหน้าเว็บเบราเซอร์ เมื่อค้นหาด้วย Keyword ที่ระบุไว้ โดยสังเกตุได้ว่าจะมีคำว่า “โฆษณา” หรือ “AD” อยู่ที่หน้าชื่อเว็บไซต์ โดยจะเสียเงินทุกครั้งเมื่อมีคนคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของเว็บไซต์

ในส่วนการ ทำ SEO ปี 2022 ประกอบด้วย

1 High Quality Content

Writing High-Quality Website Content
เนื้อหาต้องมีคุณภาพ เนื้อหาต้องสอดคล้องกับหัวข้อ เนื้อหาที่ดีสามารถนำเสนอรายละเอียดได้ง่ายขึ้น และเหมาะสมกับ

เนื้อหาต้องไม่น้อยกว่า 300 คำ อังกฤษ หรือ 3000 คำ ภาษาไทย Long-Form-Content และ ต้องมีหัวข้อ หลักและ ย่อย H1 , H2 , H3 แบ่งคอลัม เพื่อแบ่งรายละเอียดแต่ละส่วนให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

2 Google E-A-T

E-A-T คือเครื่องมือวัดความน่าเชื่อถือของผู้เขียนรายละเอียดในเว็บไซต์

E = Expertise
A = Authoritativeness
T = Trustworthiness

การทำ E-A-T ให้ได้มาตรฐาน ทาง BOT จะดูจากเนื้อหาเป็นสำคัญ เช่น ในกรณีนำข้อความจากที่อื่นมา ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้อง รวมถึง ลิ้งต่างๆ ต้องมีความเชื่อมโยงกับเรื่องที่เขียนให้ตรงกัน

3 Mobile Friendly และ Responsive Website สำคัญที่สุด

คือ ระบบของเว็บไซต์ที่ปรับการแสดงผลให้เหมาะสมกับทุกอุปกรณ์การใช้งาน และ ความสวยงามของเว็บไซต์ในการจัดเรียง ภาพ เนื้อหา ให้ใช้งานได้ง่าย

สามารถเช็คการใช้งานว่าเว็บไซต์เหมาะสมหรือไม่ที่ลิ้งเว็บไซต์ https://search.google.com/test/mobile-friendly

4. Core Web Vitals

Core Web Vitals คือ มาตรฐาน UX (User Experience) ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน

ทดสอบ PageSpeed Insights ที่ลิ้ง https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/

Largest Contentful Paint (LCP) : ความเร็วในเปิดเว็บไซต์ ต้องโหลดภายใน 2 วินาที
First Input Delay (FID) : ความเร็วในการตอบสนอง เวลากดลิ้งในเว็บไซต์ ควรน้อยกว่า 100 มิลลิวินาที
Cumulative Layout Shift (CLS) : วัดความเสถียรของภาพ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีหน้าควรมี CLS น้อยกว่า 0.1

สำหรับเมตริกแต่ละรายการข้างต้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณบรรลุเป้าหมายที่แนะนำสำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่เกณฑ์ที่ดีในการวัดคือเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 ของการโหลดหน้าเว็บโดยแบ่งกลุ่มตามอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป

เครื่องมือที่ประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ Core Web Vitals ควรพิจารณาการส่งผ่านเพจหากตรงตามเป้าหมายที่แนะนำที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 สำหรับเมตริกทั้งหมดสามรายการข้างต้น

5 Voice Search

คือการใช้เสียงในการค้นหาผ่านอุปกรณ์มือถือ ด้วย Siri , Google Assistant ส่วนมากจะเป็นคำสั้นๆ ในการใช้งาน

6 Map Search

การค้นหาคำทีต้องการด้วย Maps เมื่อเราค้นหา คำทีต้องการด้วย Maps ระบบจะค้นหาคำที่ต้องการในบริเวณใกล้ตัวเราในระยะใกล้เคียง จะสังเกตุว่า ผุ้คนส่วนมากจะค้นหาสิ่งที่ต้องการซื้อในบริเวณใกล้กับที่อยู่เป็นสำคัญ

7 HTTPS

Hypertext Transfer Protocol Secure: HTTPS) เป็นการผสม Hypertext Transfer Protocol เข้ากับโพรโทคอล SSL/TLS เพื่อสร้างการสื่อสารแบบเข้ารหัส และความสามารถในการระบุเว็บเซิร์ฟเวอร์ว่าปลอดภัย การเชื่อมต่อแบบ HTTPS มักใช้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนเว็บ และการทำธุรกรรมที่ต้องรักษาเป็นของลับในระบบสารสนเทศของบริษัท

[row] [col span__sm=”12″]

อ่านเพิ่มเติม : https://en.wikipedia.org/wiki/Seo

[/col] [/row]